Skip to content

การบริหารจัดการน้ำ

เรามุ่งมั่นในการใช้ทรัพยากรน้ำ รวมถึงการนำน้ำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตให้ได้มากที่สุด อย่างมีความรับผิดชอบ

GRI 303-3, ISO 26000 and ISO 14001

แนวทางการดำเนินงาน

ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตแอสฟัลต์อิมัลชัน (ยางมะตอยน้ำ) และเพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ โรงงานของเราในประเทศไทยมีการสร้าง แหล่งเก็บกักน้ำผิวดินภายในโรงงาน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ นอกจากนี้ ระบบท่อระบายน้ำของโรงงานได้ถูกออกแบบมาเพื่อดักเก็บน้ำทิ้งและของเสียอื่นๆในระบบ เพื่อเป็นการสนับสนุนการลด การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในโรงงาน รวมถึงเป็นการป้องกันการปนเปื้อนของเสียในแหล่งน้ำสาธารณะ และปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

ในปี 2566 กลุ่มบริษัทฯ ได้ปรับปรุงกระบวนการจัดเก็บข้อมูลน้ำโดยอ้างอิงตาม GRI 303 (2018) สำหรับธุรกิจผลิตยางมะตอยในประเทศไทยและสำนักงานใหญ่ และได้เปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของธุรกิจการผลิตยางมะตอยและสำนักงานใหญ่ โดยข้อมูลได้รับการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบจากหน่วยงานภายนอก (สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ : MASCI) ครอบคลุมข้อมูลตั้งแต่ มกราคม ถึง ธันวาคม ปี 2566

นโยบาย : นโยบายสิ่งแวดล้อม

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง :

ชุมชน ลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และหน่วยงานราชการท้องถิ่น

เป้าหมายระยะสั้น :

  1. ข้อร้องเรียนจากชุมชนจากความขัดแย้งของการใช้น้ำเป็นศูนย์

เป้าหมายระยะยาว :

  1. ข้อร้องเรียนจากชุมชนจากความขัดแย้งของการใช้น้ำเป็นศูนย์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญประจำปี 2566 :

  • ลดอัตราการใช้น้ำประปาและน้ำบาดาล ลดลงร้อยละ 28 (เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563) สำหรับธุรกิจผลิตยางมะตอยในประเทศไทย และสำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร
  • ปริมาณน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อยู่ที่ 2.85 เมกะลิตร
  • ไม่พบข้อร้องเรียนด้านการใช้น้ำจากแหล่งสาธารณะ

ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด (หน่วย : เมกะลิตร)


หมายเหตุ : แสดงข้อมูลการใช้น้ำของกลุ่มธุรกิจยางมะตอยในประเทศไทย และสำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร

ปริมาณการดึงน้ำมาใช้ตามแหล่งที่มา (หน่วย : เมกะลิตร)

ปีรายงาน น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำประปา
ค่า TDS
<= 1,000 mg/l
ค่า TDS
>= 1,000 mg/l
ค่า TDS
<=1,000 mg/l
ค่า TDS
>= 1,000 mg/l
ค่า TDS
<=1,000 mg/l
ค่า TDS
>= 1,000 mg/l
2563 NA NA 12.8 11.8 24.1 0
2564 NA NA 12.8 11.2 23.5 0
2565 NA NA 11.85 8.27 17.24 0
2566 NA NA 12.16 7.73 15.19 0

หมายเหตุ : ค่า TDS (Total Dissolved Solids) หมายถึง ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด

โครงการอนุรักษ์น้ำด้วยการลดใช้น้ำใต้ดิน

   จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศไทย ส่งผลให้ฤดูฝนมีพายุรุนแรงและปริมาณน้ำฝนเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในบางพื้นที่ การระบายน้ำภายในโรงงานไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นได้ เนื่องจากระบบรางระบายน้ำที่มีอยู่มีขนาดเล็กกว่าปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น
 
   ด้วยเหตุนี้เราจึงได้วางแผนและจัดสรรงบประมาณเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ โดยมีโครงการปรับปรุงระบบรางระบายน้ำฝน เพื่อให้สามารถแยกแหล่งที่มาของน้ำได้อย่างชัดเจน และนำมาใช้ประโยชน์สูงสุดในแต่ละกิจกรรม โดยน้ำเสียจากกระบวนการผลิตและกระบวนการสนับสนุนการผลิตทั้งหมด จะถูกส่งไปรวบรวมและผ่านระบบบำบัดน้ำเสียให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน จากนั้นจะนำไปรวบรวมยังบ่อพักน้ำ เพื่อรอการนำไปใช้สำหรับการผลิตสินค้ากลุ่มยางมะตอยน้ำ
 
   สำหรับโรงงานในประเทศไทย ได้มีการปรับปรุงระบบรางระบายน้ำและระบบปั๊มน้ำสูบกลับ เพื่อดึงน้ำจากรางระบายน้ำฝนกลับมาใช้ได้เพิ่มขึ้นและเก็บได้นานขึ้น สำหรับสำรองเพื่อการผลิต นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงบ่อเก็บน้ำสำรอง โดยปูแผ่น HDPE เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการซึมสู่ผิวดินของบ่อพัก การบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพนี้ ช่วยให้โรงงานสามารถใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด ลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และสนับสนุนการผลิตให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน