การบริหารความเสี่ยงองค์กร
การบริหารความเสี่ยงองค์กร
กลุ่มบริษัทฯ นำหลักการบริหารความเสี่ยงในองค์กรมาบูรณาการร่วมกับแผนการดำเนินงานและวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของทุกหน่วยงานรวมถึงพนักงานทุกคน เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสและผลกระทบที่อาจเกิดจากความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและภายนอก รวมถึงจากภาวะตลาด
กลุ่มบริษัทฯพัฒนากรอบโครงสร้างและกระบวนการบริหารความเสี่ยง ตามแนวทางปฏิบัติของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) และ ISO 31000:2018 Risk management เพื่อกำกับการบริหารความเสี่ยงและส่งเสริมวัฒนธรรมความเสี่ยง รวมถึงการประเมินความเสี่ยง และ การทบทวนความเสี่ยง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายกลยุทธ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงสร้างการบริหารความ เสี่ยงองค์กร
ความเสี่ยงที่ระบุแล้วจะถูกจัดหมวดหมู่ใน 4 ประเภท คือ (1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (2) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (3) ความเสี่ยงด้านการรายงาน และ (4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ
การจัดประเภทของความเสี่ยงช่วยให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถมองเห็นความเสี่ยงแบบองค์รวม พร้อมประเมินผลกระทบที่ความเสี่ยงอาจมีต่อส่วนงานภายในและภายนอก และฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักบริหารความเสี่ยง (Risk Management Office) ทำหน้าที่ประสานกับ Risk Champion และ Risk Officer ในการให้แนวทางกระบวนการบริหารความเสี่ยง การติดตามและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงผ่านตัวชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicator)
กระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร
กลุ่มบริษัทฯมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงซึ่งประกอบด้วยการระบุความเสี่ยงในระดับองค์กร (corporate risks) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์(strategic risks) และความเสี่ยงระดับปฎิบัติการ (operational risks) ตามห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ( business value chain) ที่สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจและเป้าหมายขององค์กรซึ่งกระบวนการจะเน้นที่การประเมินความเสี่ยง การติดตามและควบคุมความเสี่ยง การรายงานผลและการสื่อสาร การทบทวนความเพียงพอและประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทฯ
รายงานความเสี่ยงและผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ฝ่ายบริหาร และสื่อสารไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
การรายงาน
และสื่อสารความเสี่ยง
การติดตาม
และทบทวนความเสี่ยง
ติดตามและประเมินประสิทธิภาพของแผนการบริหารความเสี่ยง การวิเคราะห์ความอ่อนไหว หรือ Sensitivity Analysis เครื่องมือการทดสอบภาวะวิกฤต หรือ Stress Testing ดัชนีชีวิดความเสี่ยง และการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและการจัดการภาวะวิกฤต
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดทำแผนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน ที่เน้นความยึดหยุ่นในด้านบุคคลากร มีแผนสำรองด้านการผลิต รวมถึงใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
กลุ่มบริษัทฯ มีแผนการผลิตและแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและสามารถปรับตัวในการให้บริการ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในภาวะวิกฤติต่อลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสียและคู่ค้า
การระบุความเสี่ยง
ระบุประเด็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรในหน่วยงานต่างๆ ตามห่วงโซ่คุณค่า
การประเมินความเสี่ยง
นำเครื่องมือต่างๆ มาวิเคราะห์และประเมิน รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง โดยพิจารณาจากโอกาสการเกิดความเสี่ยง และผลกะทบของความเสี่ยงต่อองค์กรที่อาจจะเกิดจากความเสี่ยงนั้น
การรายงาน
และสื่อสารความเสี่ยง
รายงานความเสี่ยงและผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ฝ่ายบริหาร และสื่อสารไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
การติดตาม
และทบทวนความเสี่ยง
ติดตามและประเมินประสิทธิภาพของแผนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ