Skip to content

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เรามีการบูรณาการการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์องค์กร Vision 2025 เพื่อ “ส่งมอบความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนให้กับทุกคนในสังคมด้วยนวัตกรรมที่สร้างสรรค์” โดยกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบ่งเป็น 3 ด้าน รวมถึงพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2 ประการคือ “การสร้างมูลค่าเพื่ออนาคต” และ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี”

1. การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
2. การดำเนินงานแบบประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการปรับเพิ่มประสิทธิภาพ
3. การสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยชุมชน เพื่อสนับสนุนสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน

แผนกลยุทธ์ทั้งสามด้านส่งเสริมให้เราสามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรคุณภาพที่มีแนวคิดเดียวกัน ในขณะเดียวกันเรามีความอย่างโปร่งใสในการดำเนินงาน ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม และสนับสนุนแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านทุจริต

ส่งมอบความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนให้กับทุกคนในสังคมด้วยนวัตกรรมที่สร้างสรรค์

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

การวางกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีความเข้าใจและรับรู้ถึงความสัมพันธ์และการพึ่งพิงกันระหว่างธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ

ในกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสานเสวนาค้นหาความเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนความร่วมมือและสร้างมูลค่าร่วมกัน โดยเราสามารถลดความเสี่ยงจากความไม่เข้าใจกัน และสามารถดำเนินการให้เกิดการยอมรับจากสังคมจากกิจกรรมการดำเนินงานของกลุ่มฯ และการอยู่ร่วมกัน

นโยบาย : นโยบายการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

การระบุผู้มีส่วนได้เสียและการมีส่วนร่วม

สูง

ระดับของการมีอิทธิพลของผู้มีส่วนได้เสียต่อกิจกรรมขององค์กร

กำหนดบริบท (มีอิทธิพลสูง และผลกระทบต่ำ)

ผู้ถือหุ้น/ นักลงทุน

ลูกค้า

มีส่วนร่วมอย่างมาก (มีอิทธิพลสูง และผลกระทบสูง)

คณะกรรมการบริษััท/ พนักงาน

หน่วยงานกำกับดูแล

คู่ค้า/ พันธมิตร

ให้ข้อมูล (มีอิทธิพลต่ำ และผลกระทบต่ำ)

ผู้ใช้ถนน/ ชุมชน

คู่แข่งการค้า

ต่ำ

เกณฑ์ความจำเป็น (มีอิทธิพลสูง และมีผลกระทบสูง)

ภาคประชาสังคม/นักวิชาการ/สื่อมวลชน

สูง

ระดับผลกระทบของผู้มีส่วนได้เสียต่อกิจกรรมขององค์กร

การประเมินประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เราดำเนินการสำรวจเพื่อประเมินประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการตอกย้ำความสำคัญและความเกี่ยวข้องของประเด็นต่างๆ พร้อมการระบุประเด็นใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้น ผลการสำรวจได้ถูกนำมาวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญตามผลกระทบต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ประเด็นเหล่านี้อาจเป็นทั้งโอกาสหรือความเสี่ยงของเรา อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาใชในการปรับปรุงกลยุทธ์องค์กรรวมถึงการดำเนินงานขององค์กร

ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1 ระบุประเด็นสำคัญ

ใช้ผลจากการสำรวจในการระบุ พร้อมการจัดลำดับความสำคัญหัวข้อประเด็นต่างๆ การเลือกผู้บริหาร พนักงาน และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายนอกต่างๆ เพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์เชิงลึก

2 สัมภาษณ์

เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยทำการสัมภาษณ์ผ่านช่องทางการประชุมทางไกล อีเมล์ และ/หรือ การประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ

3 ประเมินและจัดลำดับความสำคัญ

ผลจากการสัมภาษณ์จะถูกรวบรวมและประเมิน โดยอิงจากผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ

4 รับรองผล

หน่วยงานธุรกิจแต่ละหน่วยจะทำการพิจารณา ทบทวน และรับรองผลการประเมิน ก่อนนำเสนอต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่ออนุมัติ

ผู้นำด้านนวัตกรรม : เพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด 10X

8) การส่งเสริมและสร้างสรรค์ เพื่อไปสู่การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม
10) ความเป็นเลิศด้านพื้นผิวถนนยางมะตอย
18) การพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Asset 1

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ : เพื่อโลกที่ดีและน่าอยู่มากขึ้น

2) การบริหารจัดการมลพิษ
3) การจัดการของเสีย และการป้องกันการหกรั่วไหลจากกระบวนการทำงานหรือการขนส่ง
5) การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
7) โอกาสและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
15) การใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบอย่างมีคุณค่า
21) การปกป้องสิ่งแวดล้อมความหลากหลายทางชีวภาพ และการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
30) การบริหารจัดการน้ำ

การตระหนักด้านความปลอดภัย : เพื่อความปลอดภัย ดีกว่าเสียใจภายหลัง

11) สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
13) ความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าทางถนน
19) สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและผู้ใช้ถนน

การกำกับดูแลกิจการที่ดี : เพื่อสร้างพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง

4) การบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤต
6) การกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส และต่อต้านการทุจริต
9) การสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร
12) นโยบายและงบประมาณของทางภาครัฐ
16) ความปลอดภัยทางไซเบอร์
17) คุณภาพและความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการ
20) การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
22) การปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค
23) การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
24) การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนสังคม
26) การสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสีย
27) การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม
28) การประเมินประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม จรรยาบรรณ ของห่วงโซ่อุปทาน
29) การบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
32) การจัดซื้ออย่างยั่งยืน
33) การเคารพสิทธิมนุษยชน
34) การจัดซื้อจัดจ้างกับผู้ประกอบการท้องถิ่น

คุณค่าเพื่ออนาคต : เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

1) การบริหารจัดการคน การสร้างแรงจูงใจและการรักษาพนักงานที่มีความสามารถ
14) ส่งเสริมการฝึกอบรมและการศึกษาของพนักงาน
25) ส่งเสริมความหลากหลายและโอกาสที่เท่าเทียมกันของพนักงาน
31) การให้พนักงานเป็นศูนย์กลาง

Sustainability Materiality Assessment Survey results:
2021-2022