ปี 2566
“0”
จำนวนข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย
ของผลิตภัณฑ์และบริการ

จากกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ เราตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขภาพและความปลอดภัยอย่างเสมอ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และดำเนินการสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง การแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการรับสินค้า ส่งมอบ จัดเก็บ และการใช้งาน ซึ่งครอบคลุมถึงการใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา ณ สถานที่ทำงานของลูกค้า
นโยบาย : นโยบายการจัดการแบบบูรณาการ
ลูกค้า ชุมชน ผู้ให้บริการ หน่วยงานภาครัฐ และ พนักงาน
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โรงงานพระประแดงได้ดำเนินการไปสานเสวนากับลูกค้า บริษัท วนิชชัยก่อสร้าง จำกัด จ. ฉะเชิงเทรา พบว่ามีจุดเสี่ยงอันตรายตรงทางเข้า-ออก ของบริษัท วนิชชัยก่อสร้าง จำกัด ที่เป็นทางโค้ง อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จึงมีการเสนอแนะนำให้ติดกระจกส่องทางโค้งเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งโรงงานฯได้ดำเนินกิจกรรมโครงการเพิ่มความปลอดภัยในเส้นทางขนส่งสินค้า
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โรงงานฯดำเนินการติดตั้งกระจกโค้งทาง ทางเข้า-ออกแล้วเสร็จ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในเส้นทางขนส่งสินค้า มีพนักงานเข้าร่วม 7 คน ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วม 2 คน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ รวม 15,455 บาท
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 โรงงานสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการไปสานเสวนา กับลูกค้า หจก.จิรวัฒน์การโยธา จ.นครศรีธรรมราช พบว่ามีจุดเสี่ยงอันตราย ตอนรถขนส่งสินค้าต้องถอยหลังลงตาชั่งและหางรถพ้นออกมานอกถนน อีกทั้ง เกทวาล์วทองเหลืองแท็งค์ลงยางมีสภาพชำรุด อาจเกิดอันตรายขณะลงสินค้าให้ลูกค้าได้ ทางโรงงานฯดำเนินโครงการเพิ่มความปลอดภัยในเส้นทางการขนส่งและหน้างานลูกค้า
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินการติดตั้งป้ายระวังรถบรรทุกเข้า-ออก และเปลี่ยนเกจวาล์วท่อ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในเส้นทางขนส่งสินค้าและหน้างาน มีพนักงานเข้าร่วม 6 คน ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วม 1 คน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ รวม 2,370 บาท
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566 บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด โรงงานนครราชสีมา ได้ดำเนินโครงการ เสริมสร้างความปลอดภัยให้ลูกค้า Road Safety for All บริษัท ช.มิตรยนต์ จำกัด จ.นครราชสีมา โดยการถ่ายทอดความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจขั้นพื้นฐาน ผ่านโครงการ HANDS 2 HEARTS : CPR FOR ALL โดยให้ลูกค้าฝึกปฏิบัติ CPR และการใช้เครื่อง AED เพื่อปลูกฝังแนวความคิดพร้อมสร้างจิตสำนึกเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดการสูญเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้น มีพนักงานเข้าร่วม 8 ท่าน ผู้มีส่วนได้เสีย 19 ท่าน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ รวม 5,000 บาท