Skip to content

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่จะทำให้กลุ่มบริษัทฯ เติบโตได้อย่างยั่งยืน เพิ่มมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้น รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้น พนักงานลูกค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ คู่แข่งและเจ้าหนี้

GRI 102-31, GRI 102-18 and GRI 102-28
ISO 26000

แนวทางการดำเนินงาน

เราให้ความสำคัญกับแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งมีบทบาทสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดถือตามกรอบแนวทางที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) โครงการสำรวจและติดตามพัฒนาการด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย (2) โครงการประเมฺินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (3) หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบาย: นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง :

ผู้ถือหุ้น ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา สื่อ หน่วยงานกำกับดูแล และ พนักงาน

เป้าหมายระยะสั้น :

  1. ผลการประเมินตามโครงการสำรวจและติดตามพัฒนาการด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 5 ดาว
  2. ผลการประเมินโครงการประเมฺินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีไม่น้อยกว่า 98%

เป้าหมายระยะยาว :

  1. ได้รับการยอมรับในระดับสูงสุด ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามกรอบแนวทางของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญประจำปี 2566 :

  1. ผลการประเมินโครงการประเมฺินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีอยู่ที่ 100%
  2. เราได้รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนจากสถาบันไทยพัฒน์ ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
  3. ทบทวนและนำเสนอคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับการนำหลักปฎิบัติและแนวปฎิบัติของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (CG Code) ไปปรับใช้ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของธุรกิจ
  4. ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies – CGR) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) อาทิเช่น จัดการบรรยายสรุปแก่คณะกรรมการบริษัทในหัวข้อที่แนะนำ (ความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการใช้ข้อมูลภายใน) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยแก่คณะกรรมการบริษัทฯ โดยวิทยากรมืออาชีพ

สัดส่วนของคณะกรรมการอิสระ

6:11

กรรมการอิสระ : กรรมการทั้งหมด

จำนวนกรรมการที่เป็นผู้หญิง

0

กรรมการที่เป็นผู้หญิง

กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการบริหาร

9

มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่

ตัวชี้วัดทางการเงิน
ตัวชี้วัดที่ไม่ใช้ทางการเงิน
1. รายได้ กำไรขั้นต้น EBITDA และอัตรากำไรสุทธิ
1. เป้าหมายเชิงกลยุทธ์: ความคืบหน้าในการดำเนินการ และการทบทวนภายใต้วิสัยทัศน์ 2568
2. ส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจในประเทศไทย
2. ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
3. ส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจในต่างประเทศ
3. ผลการจัดอันดับด้านการสร้างวัฒนธรรม “นวัตกรรม” ในองค์การ
4. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
4. การนำการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร (ERM) ไปประยุกต์ใช้ยังบริษัทย่อยในต่างประเทศ