Skip to content

การบริหารการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

เรารักษาความสัมพันธ์อันดีกันกับคู่ค้าของบริษัท ส่งผลถึงมาตรฐานและคุณภาพของวัตถุดิบของเราผ่านการแบ่งปันความรู้ และกิจกรรมต่างๆ ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราด้านการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน

GRI 308-1, GRI 414-1
ISO 26000 ISO 9001 ISO 14001 ISO 45001 and TLS 8001

แนวทางการดำเนินงาน

ตามกรอบนโยบายการจัดซื้ออย่างยั่งยืน เรามีการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้าธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในการสร้างความตระหนัก และความเข้าใจในกระบวนการที่เน้นความรับผิดชอบด้านการจัดหาวัตถุดิบรวมถึงการพัฒนากระบวนการภายในเพื่อบริหารจัดการและติดตามประเด็นต่างๆที่อาจส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือด้านสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทาน

นโยบาย : นโยบายการจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

คู่ค้า ผู้รับเหมา พันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า และชุมชน 

เป้าหมายระยะสั้น :

  1. การจัดซื้อวัตถุดิบและภาชนะบรรจุต้องได้คุณภาพตามข้อกำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 99.5 ของปริมาณการซื้อต่อปี
  2. การส่งมอบวัตถุดิบและภาชนะบรรจุตรงตามกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ของปริมาณการซื้อต่อปี
  3. มูลค่าการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยางมะตอยในประเทศไทย
  4. มีการจัดซื้อท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยางมะตอยในประเทศไทย

เป้าหมายระยะยาว :

  1. ปรับปรุงกระบวนการภายในเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดซื้อ
  2. นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อการบริหารจัดการกระบวนการจัดซื้อที่ดีขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญประจำปี 2566 :

  • การจัดซื้อวัตถุดิบและภาชนะบรรจุได้คุณภาพตามข้อกำหนด คิดเป็นร้อยละ 95.65 ของปริมาณซื้อต่อปี 
  • การส่งมอบวัตถุดิบและภาชนะบรรจุตรงตามกำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 ของปริมาณซื้อต่อปี
  • สนับสนุนการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) มูลค่าการจัดซื้อคิดเป็นร้อยละ 1.06 ของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยางมะตอยในประเทศไทย

  • สนับสนุนการจัดซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้า/ผู้ผลิตที่อยู่ในชุมชน พื้นที่ใกล้เคียงที่องค์กรดำเนินกิจการอยู่ มูลค่าการจัดซื้อคิดเป็นร้อยละ 0.51 ของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยางมะตอยในประเทศไทย

  • มีการตรวจประเมินติดตามการดำเนินงานของ คู่ค้า ร้านค้า รายปัจจุบัน ตามแนวทางการจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืน โดยครอบคลุมมิติทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ราย โดยเป็นการตรวจประเมินตนเองของคู่ค้าจำนวน 6 ราย และตรวจประเมินที่พื้นที่ปฏิบัติการของคู่ค้า จำนวน 4 ราย 

     

การจัดซื้อท้องถิ่น

ในปี 2566 เรามีความพยายามที่จะขยายขอบเขตในการสนับสนุุนส่งเสริมชุุมชนที่อยู่ในท้องถิ่่นใกล้โรงงานมากขึ้น โดยนอกจากจะให้ความสำคัญ ในการส่งเสริมจัดซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นแล้ว เรายังมีการขยายกรอบแนวคิดและมุุมมองในการสนับสนุุนชุุมชนให้กว้างมากขึ้น โดยให้ครอบคลุุมการจัดจ้างและการใช้บริการผู้รับจ้างผู้รับเหมาที่อยู่ในชุุมชนในพื้นที่รอบบริเวณที่โรงงานสาขาตั้งอยู่ด้วย ในปี 2566 กลุ่มบริษัทฯ มีมูลค่าการจัดซื้อการจัดจ้างท้องถิ่นในประเทศไทยรวม 55.16 ล้านบาท ลดลงจากปีที่่ผ่านมาซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ตลาด


จำนวนการจัดซื้อท้องถิ่น (ล้านบาท)

การจัดซื้อสีเขียว

เรามุ่งมั่นส่งเสริมให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้าง วัตถุดิบ สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (การจัดซื้อสีเขียว) ทั้งนี้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปี 2566 มูลค่าการจัดซื้อสีเขียวมีจำนวน 113.75 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์แอสฟัลท์ซีเมนต์ผสมยางพาราที่ลดลงส่งผลให้วัตถุดิบน้ำยางพาราที่ใช้ในการผลิตสินค้าดังกล่าวมีปริมาณการใช้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


จำนวนการจัดซื้อสีเขียว (ล้านบาท)

การบริหารจัดการคู่ค้า

กลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ มีความมุ่งมั่นในการกำกับดููแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนดนโยบายและแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนเพื่อเพิ่มมููลค่าสินค้าและบริการตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ผู้จัดจำหน่าย การใช้งานและการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดห่วงโซ่คุุณค่าของกลุ่มบริษัท แบ่งกลุ่มคู่ค้าออกเป็น 2 ประเภท

    1. คู่ค้ารายสำคัญหลัก (Critical Tier 1 Supplier) คือคู่ค้าที่จัดหาสินค้าหรือบริการให้กับเราโดยตรง และอยู่ในทะเบียนบัญชีรายชื่อคู่ค้าของบริษัทฯ คู่ค้าที่อยู่ในกลุ่มคู่ค้ารายสำคัญหลักจะได้รับการประเมินความสามารถของคู่ค้าโดยครอบคลุมประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ตามเกณฑ์ที่กลุ่มบริษัทฯ ได้กำหนดไว้ รวมถึงการประเมินด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบ การปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงาน

    2. คู่ค้ารายสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับเราโดยตรง (Critical Non-Tier 1 Supplier) คือคู่ค้าที่เป็นผู้จัดหาสินค้าหรือบริการให้กับ คู่ค้ารายสำคัญหลัก (Critical Tier 1 Supplier)

ในการระบุุว่าคู่ค้ารายใดเป็นคู่ค้ารายสำคัญ (Critical Supplier) นอกจากจะพิจารณาจากมููลค่าการค้าระหว่างกันในแต่ละปีแล้ว บริษัทยังมีการพิจารณาถึงเกณฑ์อื่่น ๆ ประกอบด้วย ดังต่อไปนี้

    1. คู่ค้าที่ขายสินค้าซึ่งเป็นวัตถุดิบหรือภาชนะบรรจุุหลัก และมีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต การดำเนินธุุรกิจ และข้อได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท

    2. คู่ค้ารายดังกล่าวเป็นผู้ขายสินค้าและหรือให้บริการเพียงรายเดียวหรือมีผู้ขายน้อยรายในตลาด

    3. ความสามารถในการให้บริการ ความต่อเนื่องและระยะเวลาที่มีการทำการค้าระหว่างกัน

ในปี 2566 บริษัททิปโก้แอสฟัลท์ มีการจัดซื้อจากคู่ค้าจำนวนทั้งสิ้น 903 ราย เป็นคู่ค้ารายสำคัญหลัก (Critical Tier 1 Supplier) จำนวน 46 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของคู่ค้าที่มีการจัดซื้อกับบริษัท โดยคู่ค้ารายสำคัญหลักที่อยู่ในกลุ่มวัตถุดิบมีจำนวน 34 ราย และคู่ค้ารายสำคัญหลักที่อยู่ในกลุ่มภาชนะบรรจุหลักมีจำนวน 12 ราย อย่างไรก็ตามในปี 2566 ยังไม่มีคู่ค้ารายสำคัญหลักรายใหม่  และยังไม่ได้มีการวิเคราะห์คู่ค้าในกลุ่ม Critical Non-Tier 1 Supplier

การคัดเลือกและประเมินความสามารถของคู่ค้า

การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าใหม่ที่มีศักยภาพ ฝ่ายงานจัดซื้อจะดำเนินการหาข้อมูลร้านค้า ประเมินความสามารถคู่ค้าตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่องค์กรกำหนด ซึ่งครอบคลุมการประเมินด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบ มาตรฐานแรงงานไทย การเคารพสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยในการทำงาน ความรับผิดชอบต่อสังคม และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยคู่ค้าที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินผลตามที่บริษัทกำหนด จะถูกบรรจุเข้าไปอยู่ในทะเบียนรายชื่อคู่ค้า เพื่อพิจารณาการสั่งซื้อต่อไป และได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด

คู่ค้าที่เข้าอยู่ในทะเบียนรายชื่อขององค์กรแล้ว ฝ่ายจัดซื้อจะดำเนินการการประเมินความสามารถในการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าปีละ 2 ครั้ง โดยครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้

  • ด้านคุณภาพสินค้า (Quality)
  • ราคา (Price)
  • ความสามารถของการส่งมอบสินค้า (Delivery)
  • ระยะของการส่งมอบ (Leadtime)
  • เงื่อนไขการชำระเงิน (Credit Term)

ในปี 2566 มีการประเมินความสามารถในการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าที่อยู่ในทะเบียน 2 ครั้ง ในเดือน มิถุนายน และเดือนธันวาคม ไม่มีพบคู่ค้ารายใดมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจจนถึงขึ้นต้องปรับปรุงหรือนำเสนอออกจากทะเบียนคู่ค้า

สำหรับการประเมินความสามารถด้าน ESG หรือ Supplier ESG Audit เราจะทำการตรวจประเมินคู่ค้ารายปี ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และหรือบรรษัทภิบาล  การติดตามมาตรฐานจัดการความเสี่ยงที่มีการบ่งชี้ความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้าไว้ (ESG RISK) รวมถึงผลการปฏิบัติตาม “จรรยาบรรณของคู่ค้าธุรกิจ” อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 

วิธีการตรวจประเมิน

  • การตรวจประเมินตนเองของคู่ค้า (Self Assessment)
  • การตรวจประเมินที่พื้นที่ปฏิบัติการของคู่ค้า (On-site Visit)
  • การตรวจประเมินพื้นที่ปฏิบัติการของคู่ค้าผ่านทางสื่ออิเลกทรอนิก (Online-site visit) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมในแต่ละปี

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้าที่ต้องได้รับการตรวจประเมินความสามารถด้าน ESG จะพิจารณาจาก

  • คู่ค้ากลุ่มวัตถุดิบและหรือภาชนะบรรจุรายใหม่ที่ไม่เคยมีการซื้อขายสินค้ากันมาก่อน
  • คู่ค้ากลุ่มวัตถุดิบและหรือภาชนะบรรจุรายปัจจุบัน

กรณีตรวจประเมินคู่ค้ารายปัจจุบัน จะพิจารณาคัดเลือกจาก

  • คู่ค้าที่อยู่ในกลุ่มวัตถุดิบและหรือภาชนะบรรจุ ซึ่งถือเป็นกลุ่มคู่ค้ารายสำคัญ (Critical Tier 1 Supplie)
  • พิจารณาจาก มูลค่าการซื้อขายสินค้าในปีที่ผ่านมา
  • คู่ค้าที่อยู่ในกลุ่มวัตถุดิบและหรือภาชนะบรรจุที่ไม่ได้มีการสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าดังกล่าว เป็นเวลาเกิน 400 วัน และคาดว่าจะกลับมาซื้อสินค้าใหม่อีกครั้ง

ทั้งนี้อาจมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละปี

ในปี 2566 มีการตรวจประเมิน Supplier ESG Audit ทั้งสิ้น 10 ราย เป็นการตรวจประเมินตนเองของคู่ค้า (Self Assessment) จำนวน 6 ราย และเป็นการตรวจประเมินในพื้นที่ปฏิบัติการของคู่ค้า (On-site Visit) จำนวน 4 ราย จากการตรวจประเมินไม่มีคู่ค้ารายใดที่มีความเสี่ยง หรือพบข้อร้องเรียนในการดำเนินงาน

หัวข้อการประเมิน
% คู่ค้าที่ได้รับการประเมินปี 2566
ความสามารถหลังส่งมอบ ด้านคุณภาพสินค้า
100%
ความสามารถหลังส่งมอบ ด้านความเหมาะสมของราคา
100%
ความสามารถหลังส่งมอบ ด้านระยะเวลาของการชำระเงิน
100%
ความสามารถหลังส่งมอบ ด้านความสามารถของการส่งมอบ
100%
ความสามารถหลังส่งมอบ ด้านระยะเวลาของส่งมอบ
100%
การประเมินด้าน ESG – ตรวจประเมินพื้นที่ปฏิบัติงานของคู่ค้า
8.7%
การประเมินด้าน ESG – ตรวจประเมินตนเอง
13%

หมายเหตุ :

การสนับสนุนและพัฒนาคู่ค้า

เราให้ความสำคัญในการพัฒนาธุุรกิจชุุมชนให้มีความแข็งแกร่งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่่นสนับสนุุนในการพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุุรกิจแก่คู่ค้าที่อยู่ในชุุมชนโดยเฉพาะพื้นที่่รอบบริเวณที่่โรงงานสาขาตั้้งอยู่

รวมถึงการส่งเสริมการจัดซื้อผลิตภัณฑ์และหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมุ่งผลักดันให้คู่ค้าตระหนักและให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจให้มากขึ้นผ่านโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้การสนับสนุุนคู่ค้าที่ดำเนินธุุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เหนือสิ่งอื่นใดเราตระหนักดีว่าการที่จะส่งเสริมและผลักดัน การจัดซื้อท้องถิ่นและการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้ และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดหาจัดซื้อ ซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนสำคัญหลักในการที่จะผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม เราจึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อและพนักงานให้มากยิ่งขึ้น

ที่ผ่านมาเราได้สนับสนุนและพัฒนาคู่ค้าผ่านการจัดโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 เครือข่าย  สีเขียว (Green Network) เพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวด้วยและส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ดีและการยอมรับระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนที่อยู่โดยรอบ ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ประหยัดต้นทุนการดำเนินธุรกิจและสร้างโอกาสในการแข่งขัน โดยในปี 2566 “โรงงานพระประแดง และโรงงานระยอง ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network)” มีเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย 

การยกระดับความตระหนักถึงเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

เราให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคและยุติธรรม เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน จึงได้กำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืน ดังนี้

  • ปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายอย่างเสมอภาค
  • ดำเนินการคัดเลือกคู่ค้าอย่างมีระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต่อการการติดสินบน
  • ส่งเสริมการเจรจาและกำหนดระยะเวลาชำระเงินให้แก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม ชัดเจน เพื่อให้คู่ค้ามีสภาพคล่องทางการเงินและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันอย่างเคร่งครัด

ในปี 2566 บริษัทมีระยะเวลาเฉลี่ยในการชำระเงินให้แก่คู่ค้าและเจ้าหนี้เพียง 44.37 วัน โดยการชำระเงินเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันอย่างเคร่งครัด ไม่มีข้อร้องเรียนจากคู่ค้าเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้หรือจ่ายล่าช้า

การดำเนินนโยบายอย่างจริงจังและต่อเนื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นธรรมกับคู่ค้า พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย

การชำระเงินให้คู่ค้าและเจ้าหนี้
2563
2564
2565
2566
ระยะเวลาในการชำระหนี้เฉลี่ย (วัน)
82.81
50.63
44.01
44.37

การพัฒนาและยกระดับศักยภาพคู่ค้าสู่ความยั่งยืน

เราตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนและแข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

ด้านสิ่งแวดล้อม

    • ส่งเสริมและพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียว โดยเผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ให้แก่พนักงานและคู่ค้า
    • ปี 2566 โรงงานระยองและพระประแดง ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network)”
    • ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนและผลักดันให้คู่ค้ารายสำคัญหลักประเภทภาชนะบรรจุ 1 ราย ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ด้วย

ด้านสังคม

    • ให้ความรู้ และส่งพนักงานฝ่ายจัดซื้อเข้าฝึกอบรมให้เป็นวิทยากรหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR and First Aid Instructor)
    • จัดทำโครงการฝึกอบรบหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR for Life) ให้กับพนักงานของบริษัทคู่ค้ารายสำคัญ 1 ราย

ด้านบรรษัทภิบาล

    • ปรับปรุงนโยบายการจัดซื้อจัดหาให้สอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืน
    • พิจารณาทบทวนกระบวนการดำเนินงานและจรรยาบรรณคู่ค้าให้สนับสนุนเป้าหมายธุรกิจยั่งยืน